ทุกวันนี้ คุณสมบัติการเข้ากันได้ของจาระบีอยู่ในใจของผู้จัดการฝ่ายบำรุงรักษาจำนวนมาก ผู้จัดการฯ พบว่าจาระบีที่ใช้กับงานบนท้องถนนถูกใช้กันมานานหลายปี สำหรับ การใช้งานบนทางหลวง และการใช้งานในอุตสาหกรรมนั้นขาดตลาด เพื่อทำความเข้าใจว่าเหตุใดสิ่งนี้จึงเกิดขึ้นและอาจมีทางเลือกอื่นที่เข้ากันได้หรือไม่ คุณควรทราบข้อมูลเล็กน้อยเกี่ยวกับวิธีการทำงานและสิ่งที่กำหนดคุณสมบัติของจาระบี
น้ำมันพื้นฐานคิดเป็น 70% ถึง 90% ของจาระบีสำเร็จรูป และมีบทบาทสำคัญต่อสมรรถนะโดยรวมของจาระบีเนื่องจากช่วยหล่อลื่นชิ้นส่วนที่มีการเคลื่อนไหว ส่วนที่เหลืออีก 10% ถึง 20% ของจาระบีสำเร็จรูปประกอบด้วยสารอุ้มน้ำมันและสารพิ่มคุณภาพ ซึ่งทั้งสองอย่างนี้มีส่วนช่วยให้จาระบีมีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะตัว สารอุ้มน้ำมันทำหน้าที่เหมือนชื่อของมัน โดยทำหน้าที่เป็น "ฟองน้ำ" ชนิดหนึ่งที่ช่วยทำให้จาระบีมีความสม่ำเสมอและยึดองค์ประกอบทั้งหมดไว้ด้วยกัน ในขณะที่สารพิ่มคุณภาพจะเพิ่มและปรับปรุงคุณสมบัติหลัก เช่น การกันน้ำ การป้องกันการสึกหรอ หรือการยับยั้งการกัดกร่อน
แม้ว่าในตลาดจะมีสารอุ้มน้ำมันให้เลือกมากมาย แต่สารอุ้มน้ำมันที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด 3 ชนิด ได้แก่ โพลียูเรีย ลิเธียมหรือลิเธียมคอมเพล็กซ์ และแคลเซียมซัลโฟเนต ลองมาเจาะลึกคุณสมบัติของสารอุ้มน้ำมันในแต่ละประเภทกันสักหน่อย
โพลียูเรีย (Polyurea) : จาระบีเข้มข้นขึ้นด้วยโพลียูเรียที่ขึ้นชื่อเรื่องอายุการใช้งานที่ยาวนาน จึงเป็นที่นิยมสำหรับการใช้งานที่มีการเปลี่ยนจาระบี ซึ่งเป็นปัญหาอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลับลูกปืนมอเตอร์ไฟฟ้า เช่นเดียวกับหัวเพลาข้อต่ออ่อนแบบความเร็วคงที่หรือข้อต่อ CV ที่ใช้ในรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้า การใช้จาระบีโพลียูเรียเพียงครั้งเดียวสามารถอยู่ได้เกือบตลอดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ และแม้ว่ามันจะเริ่มเสื่อมสภาพ แต่ก็ทิ้งคราบสกปรกน้อยกว่าจาระบีประเภทอื่นเนื่องจากไม่มีเถ้า
เพื่อให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน จาระบีโพลียูเรียจึงมีความซับซ้อนในการผลิตมากกว่า ทำให้มีราคาแพงกว่า อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนมิถุนายน 2564 เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่กับโรงงานผลิตโพลียูเรียของบุคคลภายนอก ซึ่งเป็นกำลังการผลิตโพลียูเรียหลักของสหรัฐอเมริกาทำให้ได้รับเสียหายอย่างหนัก ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนและทำให้ผู้ใช้งานต้องใช้เวลานานในการรอสินค้า จึงต้องมีการหาทางเลือกอื่นที่สามารถใช้ทดแทนได้
โพลียูเรียมีความซับซ้อนในโครงสร้าง ทำให้ไม่สามารถเข้ากันได้กับสารอุ้มน้ำมันประเภทอื่นๆ และบางครั้งก็ไม่สามารถเข้ากันได้กับจาระบีที่เป็นโพลียูเรียด้วยกันเนี่องจากโครงสร้างทางเคมีที่แตกต่างตามชื่อที่สื่อความหมาย นั่นคือ "โพลี" หมายถึง "จำนวนมาก หลาหลาย" ดังนั้นไม่ใช่ว่าจาระบีโพลียูเรียทั้งหมดจะเข้ากันได้
ลิเธียม/ลิเธียมคอมเพล็กซ์ (Lithium/Lithium Complex) : จาระบีที่กันขายทั่วโลกส่วนใหญ่ทำจากสบู่ลิเธียม หรือสารอุ้มน้ำมันลิเธียมคอมเพล็กซ์ จาระบีลิเธียมธรรมดาถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย และมีประสิทธิภาพสูงกว่าจาระบีอเนกประสงค์ทั่วไป ส่วนผลิตภัณฑ์ลิเธียมคอมเพล็กซ์มีความทนทานต่ออุณหภูมิที่สูงขึ้น มีการเติมสารโมลิบดีนัมไดซัลไฟด์สำหรับการบรรทุกหนัก รวมถึงการใช้งานบนท้องถนน ซึ่งผู้ปฏิบัติงานต้องการยืดเวลาการใช้งานที่ยาวนานขึ้น
อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ลิเธียม ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานในสารอุ้มน้ำมันเหล่านี้ยังคงขาดตลาดอยู่ (และราคาสูงขึ้น) เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของความต้องการใช้ลิเธียมในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่นแบตเตอรี่ไฟฟ้า ส่งผลให้ทีมงานซ่อมบำรุงที่ต้องใช้จาระบีลิเธียมหรือลิเธียมคอมเพล็กซ์มาเป็นเวลานานกำลังมองหาทางเลือกอื่นที่จะตอบสนองความต้องการด้านประสิทธิภาพด้วยต้นทุนที่สมเหตุสมผล
แคลเซียมซัลโฟเนต: แม้ว่าแคลเซียมซัลโฟเนตจะถูกใช้เป็นสารอุ้มน้ำมันจาระบีมานานกว่า 50 ปี แต่ปัจจุบันนี้ได้กลายเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการทดแทนลิเธียม และเป็นคำตอบสำหรับแก้ปัญหาการขาดแคลนสารอุ้มน้ำมัน แคลเซียมซัลโฟเนตมีข้อได้เปรียบในการเข้ากันได้กับจาระบีลิเธียมและลิเธียมคอมเพล็กซ์ส่วนใหญ่ และยังมีข้อได้เปรียบด้านประสิทธิภาพบางประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันการชะล้างของน้ำ และการป้องกันการสึกหรอ จาระบีแคลเซียมซัลโฟเนตสามารถใช้ได้กับทุกการใช้งานที่มีการใช้สารอุ้มน้ำมันลิเธียม รวมถึงด้านยานยนต์ อุตสาหกรรม และการเกษตร
เมื่อพิจารณาถึงการเปลี่ยนไปเลือกใช้สารอุ้มน้ำมันชนิดอื่น ๆ
ด้านล่างนี้เป็นแผนภูมิที่ช่วยเป็นแนวทางและคำแนะนำสำหรับการดำเนินการที่จำเป็น
เชฟรอนทำงานกันอย่างแข็งขันเพื่อช่วยลูกค้าของเราในการรับมือกับความท้าทายในการจัดหาจาระบีในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งของความพยายามนั้น เรากำลังพัฒนาสายผลิตภัณฑ์จาระบีแคลเซียมซัลโฟเนต ที่มั่นใจได้ว่าจาระบีแคลเซียมซัลโฟเนตเหล่านี้จะเป็นทางเลือกสำหรับนำมาทดแทนลิเธียม ลิเธียมคอมเพล็กซ์ และโพลียูเรียในการใช้งานบางชนิดได้
แซค ซัตตันทำงานให้กับเชฟรอน และมีบทบาทหลากหลายในบริษัท ปัจจุบันแซคดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมและบริการในองค์กร Americas Customer Experience ที่บริษัทจัดตั้งขึ้นใหม่ บทบาทของแซคคือการให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของลูกค้าในการใช้น้ำมันหล่อลื่นอุตสาหกรรมและบริการของเชฟรอน เช่น โปรแกรม Chevron LubeWatch® และน้ำมันหล่อลื่นที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน ISOCLEAN® ก่อนร่วมงานกับเชฟรอน แซคเคยทำงานให้กับองค์กรหลายแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Michelin North America ทำให้แซคมีประสบการณ์ที่กว้างขวางในการขายผลิตภัณฑ์และการตลาด ในปี 2543 แซคสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย เมืองเฟรสโน ด้วยปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ โดยเน้นด้านการตลาด